รายงานการฝึกภาคปฏิบัติการพัฒนาชุมชน
ณ ศาลแรงงานภาค2 จังหวัดชลบุรี
ศาลแรงงานภาค2 จังหวัดชลบุรี
เป็นศาลชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้องกับคดีแรงงานซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย เดิมศาลแรงงานในภาคตะวันออกประกอบไปด้วยศาลแรงงานกลาง สาขาชลบุรี กับศาลแรงงานกลางสาขาระยอง ต่อมาศาลแรงงานกลางประกาศปิดสาขาทั้งสองแห่งตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 และได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดจำนวนที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการศาลแรงงานภาค พุทธศักราช 2546 กำหนดให้มีศาลแรงงานภาค 2 ตั้งอยู่ ณ จังหวัดชลบุรี มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว โดยกำหนดเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นมา
และสืบเนื่องจากประชากรด้านแรงงานและประชาชนผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดระยองมีความคุ้นเคยกับศาลแรงงานกลางสาขาระยองมาก่อน และมีประชากรด้านแรงงานซึ่งเป็นผู้รับบริการจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมและกระจายความยุติธรรมให้แก่ประชาชนที่เคยรับบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และเสมอภาคจากการที่มีสาขาระยองของศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค 2 จึงได้จัดให้มีศาลแรงงานภาค 2 สาขาระยองขึ้น เพื่อให้คู่ความที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบรี และจังหวัดตราด สามารถยื่นคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาได้ที่สาขาระยอง อันทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อคู่ความมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันศาลแรงงานภาค 2 ตั้งอยู่ที่ อาคารศาลแขวงชลบุรีชั้นที่ 2 ถนนพระยาสัจจา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และศาลแรงงานภาค 2 สาขาระยอง ตั้งอยู่ที่ อาคารศาลจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
เขตอำนาจศาลแรงงานภาค 2 มีทั้งหมดรวม 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว

โครงสร้างและหน้าที่
1.ฝ่ายช่วยอำนวยการ
2.ฝ่ายงานคดี
3.ฝ่ายการเงินและการคลัง
4.ฝ่ายนิติกรและไกล่เกลี่ยประนีประนอม
ข้าราชการตุลาการ
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2558
ที่มา : สำนักงานศาลแรงงานภาค 2
ข้าราชการศาลยุติธรรม
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2558
ที่มา : สำนักงานศาลแรงงานภาค 2



วิสัยทัศน์
พันธกิจ
การปฏิบัติงานในการฝึกงาน
สัปดาห์ ที่ 1 วันที่ 25-29 พฤษภาคม 2558
กรอกสถิติการมาปฏิบัติงานของผู้พิพากษาสมทบ ขาด ลา ประจำปี พ.ศ.2554-2557ร่วมต้อนรับคณะผู้พิพากษาจากศาลแขวง และศาลจังหวัด มีการจัดประชุมสัมมนาผู้พิพากษาสมทบทั่วประเทศที่จังหวัดระยอง ร่วมต้อนรับผู้พิพากษาสมทบ ค้นหารายชื่อ อาชีพผู้พิพากษาสมทบรุ่นที่ 3ที่เข้ามาสมัครใหม่ ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบประจำปี 2554-2557 ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 2-5 มิถุนายน 2558
จัดประชุมสัมมนาไกล่เกลี่ย ณ ศาลแรงงานภาค 2ค้นประวัติผู้เข้าสมัครรับการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบรุ่นที่ 3 ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ ปัจจุบัน ทะเบียนบ้าน และเบอร์โทรศัพท์ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจำนวน 116คน ค้นหาที่อยู่ตาม สถานีตำรวจทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบประวัติทางคดี ลงทะเบียนรับหนังสือประจำวัน และส่งหนังสือออกเลขหนังสือส่ง และนำส่งไปรษณีย์ เพื่อเรียกหมายนัดจำเลย และโจทก์
สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 8-12 มิถุนายน 2558
จัดทำแบบประเมินวันมาปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง รุ่นที่ 1ประจำปี พ.ศ. 2554-2557จัดทำแบบประเมินวันมาปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง รุ่นที่ 2จำนวน 49คน กรอกจำนวนวันมาปฏิบัติงานของผู้พิพากษาสมทบ ระยอง จำนวน 18 คน ลงทะเบียนรับ และลงทะเบียนหนังสือส่งประจำวัน
สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 15-19 มิถุนายน 2558
ลงทะเบียนรับหนังสือประจำวัน ลงทะเบียนหนังสือส่ง หมายนัดจำเลยและโจทก์กรอกตารางเวร การมา ทำงานประจำวันของผู้พิพากษาสมทบ รุ่นที่ 2จัดทำป้ายสามเหลี่ยม ชื่อ ท่านผู้พิพากษา ประจำศาลแรงงานภาค 2
สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 22-26 มิถุนายน 2558
จัดเรียงเอกสารของผู้ประนีประนอม พิมพ์ซองจดหมาย จ่าหน้าซองถึงผู้ประนีประนอม จัดทำใบนำส่งไปรษณีย์ ประจำวัน ลงทะเบียนรับ ส่งหนังสือ ประจำวัน จัดพิมพ์รายชื่อผู้มาเข้าร่วมประชุมโครงการศาลยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนของศาลแรงงานภาค 2 ทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 29 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2558
จัดพิมพ์รายชื่อผู้มาเข้าร่วมประชุมโครงการศาลยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนของศาลแรงงานภาค 2 ทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจัดทำใบนำส่งไปรษณีย์ ประจำวัน ลงทะเบียนรับ ส่งหนังสือ ประจำวันพิมพ์ซองเอกสารส่งถึงผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าสมัครรับการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบ 400 คน
สัปดาห์ที่ 7 วันที่ ุ6-10 กรกฎาคม 2558
ทำใบนำส่งไปรษณีย์ถึงผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าสมัครรับการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบ 400 คน ต้อนรับคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา มาศึกษาดูงาน เกี่ยวกับกฏหมายที่แพทย์ควรรู้ จัดทำใบนำส่งไปรษณีย์ ประจำวัน ลงทะเบียนรับ ส่งหนังสือ ประจำวันจัดพิมพ์รายชื่อผู้มาเข้าร่วมประชุมโครงการศาลยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนของศาลแรงงานภาค 2 ทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต้อนรับผู้มาเข้าร่วมอบรมโครงการศาลยุติธรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนของศาลแรงงานภาค 2 ทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง จุดลงทะเบียน
สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2558
ลงทะเบียนรับหนังสือประจำวัน ลงทะเบียนหนังสือส่ง หมายนัดจำเลยและโจทก์ตรวจสอบรายชื่อผู้ใกล้ชิดของผู้พิพากษาสมทบรุ่นที่ 3 ให้ตรงตามรายชื่อสัปดาห์ที่ 9 วันที่ 20 - 24 กรกฎาคม 2558
ลงทะเบียนรับหนังสือประจำวัน ลงทะเบียนหนังสือส่ง หมายนัดจำเลยและโจทก์ จัดใส่เอกสารเพื่อนำไปใช้ในโครงการศาลยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนของศาลแรงงานภาค 2 ส่งจดหมายเชิญ เข้าร่วมประชุมโครงการส่งเสริมการประสานงานความร่วมมือ ด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการศาลยุติธรรมด้านแรงงาน ตามสำนักงานที่เกี่ยวข้อง
สาขาพัฒนาชุมชน ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตรืและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาสัปดาห์ที่ 10 วันที่ 27 - 29 กรกฎาคม 2558
ลงทะเบียนรับหนังสือประจำวัน ลงทะเบียนหนังสือส่ง หมายนัดจำเลยและโจทก์ ตรวจสอบรายชื่อผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าสมัครรับการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบที่ส่งกลับมา ตรวจสอบให้ตรงตามรายชื่อ
โครงการต่างๆที่ได้ร่วมทำกับศาลแรงงานภาค 2
ศาลแรงงานภาค 2 เปิดโครงการ“ร่วมใจไกล่เกลี่ยสามัคคี60 ปีสยามบรมราชกุมารีสดุดีทั่วไทย”เมื่อวันที่2 มิถุนายน 2558 นายบุญชูทัศน ประพันธ์อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เป็น ประธานกล่าวเปิดโครงการ“ร่วมใจไกล่เกลี่ยสามัคคี60 ปีสยามบรมราชกุมารีสดุดีทั่วไทย” โดยมีคณะ
ผู้พิพากษา ตัวแทนอธิบดีอัยการแรงงานภาค 2 ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ประนีประนอม ข้าราชการ ลูกจ้างศาลแรงงานภาค 2 และคู่ความ เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหา
กรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง และเพื่อให้คู่ความได้มี
โอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม ณ ศาลแรงงาน
ภาค 2 ชั้น 2 อาคารศาลแขวงชลบุรี
พิธีทําบุญเนื่องในวาระครบรอบ 12 ปีเปิดทําการศาลแรงงานภาค 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 นายบุญชู ทัศนประพันธ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เป็นประธานในพิธีทําบุญเลี้ยงพระเนื่องในวาระครบรอบ 12 ปีวันเปิดทําการศาลแรงงานภาค 2 โดยมี ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ประนีประนอม ข้าราชการและลูกจ้างศาลแรงงานภาค 2 เข้าร่วมพิธี
คณะแพทย์ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ของมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าเยี่ยมชมการดําเนินงานของศาลแรงงานภาค 2 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2558 นายบุญชูทัศนประพันธ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 กล่าวต้อนรับคณะแพทย์ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “อาชีวเวชศาสตร์พื้นฐานสําหรับแพทย์” ของ มหาวิทยาลัยบูรพา ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมการดําเนินงานของศาลแรงงานภาค 2 โดยนายอัศวิน ครุฑปราการ ผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เป็นผู้บรรยายให้ความรู้กรณีศึกษา คดีความที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทํางาน การฟ้องร้องและการไกล่เกลี่ย
ศาลแรงงานภาค 2 จัดโครงการ “ศาลยุติธรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน”
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 นายบุญชู ทัศนประพันธ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เป็นประธาน
ในพิธีเปิดโครงการ “ศาลยุติธรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน” เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจใน กฎหมายแรงงานมากขึ้นและนําความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายปฐม เพชรมณีรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายอัศวิน ครุฑปราการ ผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 และ นายชนุดม ปิติฤกษ์ เลขานุการศาลแรงงานภาค 2 เป้นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ณ ห้อง A300 สถาบันไทย– เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ตําบลคลองตําหรุอําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี
ศาลแรงงานภาค 2 ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาและอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสมาศึกษาดูงาน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 นายบุญชูทัศนประพันธ์อธิบดีผ้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 ได้ มอบหมายให้นายชนุดม ปิติฤกษ์ เลขานุการศาลแรงงานภาค 2 ต้อนรับคณะนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสมาศึกษาดูงานการไกล่เกลี่ยและพิจารณาคดีแรงงาน โดยได้รับเกียรติ จากนายอัศวิน ครุฑปราการ ผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 และ นายชนุดม ปิติฤกษ์ เลขานุการศาลแรงงาน ภาค 2 เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้
โครงการศาลยุติธรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
ศาลแรงงานภาค 2
หลักการและเหตุผล
ด้วยแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ.2557-2560 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ได้กำหนดเป้าประสงค์ให้ศาลยุติธรรมมีระบบงานธุรการ และระบบงานส่งเสริมงานตุลาการ ที่มีมาตราฐานระดับสากลและมีขีดสมรรถนะสูงในการสนับสนุนอำนวยความยุติธรรมให้ดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีระบบการให้บริการต้อนรับประชาชนที่มีคุณภาพสูงสุด ประกอบกับนโยบายของผู้บริหารศาลยุติธรรม ให้พัฒนาคุณภาพการสิ่อสารประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การดำเนินงานศาลยุติธรรมบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ศาลแรงงานภาค 2 จึงต้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและการมาปฏิบัติตัวเมื่อมาศาล เพื่อทำให้ประชาชนมีความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้ อันเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทแรงงานจนเป็นสาเหตุหนึ่งในการนำคดีขึ้นสู่ศาล
จึงจัดทำโครงการศาลยุติธรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ศาลแรงงานภาค 2 เพื่อให้บริการประชาชนและดูแลสังคมให้เกิดความสงบสุขตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด ทำให้ศาลแรงงานภาค 2 มีความน่าเชื่อถือ อันเป็นการพัฒนาคุณภาพการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของศาลยุติธรรมด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแรงงานภาค 2 จำนวน 8 จังหวัด นำความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและการปฏิบัติตัวเมื่อมาศาลไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เป้าหมาย
นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงานภาค 2 จำนวน 200 คน
ในเขตจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว จำนวน 200 คน
วิธีการดำเนินงาน
1.แต่งตั้งคณะการทำงานเผยแพร่ความรู้กฎหมาย
2.จัดทำเอกสารสำหรับใช้โปรแกรมประกอบโครงการ
3.จัดอบรมเผยแพร่ความรู้ทางกฏหมายให้แก่นายจ้างและลูกจ้างตามที่กำหนด
4.รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สถานที่
ณ สถาบันไทย – เยอรมันนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ลงชื่อ..................................................ผู้เสนอโครงการ
( นางสาวกชกร พิสุทธิ์พงศานนท์ )
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการพัฒนาชุมชน
ลงชื่อ..................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
( นายโสภณ ภัทราวุธ )
นิติกรชำนาญการ
ลงชื่อ..................................................ผู้อนุมัติโครงการ
นางสาววรรณี กาญจนศศิวิมล )
ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลแรงงานภาค 2
งบประมาณ
งบประมาณสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 132,000 บาท
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานและการปฏิบัติตัวเมื่อมาศาลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ทฤษฎีความยุติธรรม (A Theory of Justice)
ก่อนยุคสมัยของจอห์น รอลว์ส ความยุติธรรมได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ซึ่งมองว่า สังคมควรจะยังประโยชน์ที่ดีงามที่สุดให้กับกลุ่มคนส่วนมากที่สุดในสังคม จึงจะเรียกได้ว่าสังคมนั้นมีความเป็นธรรมทางสังคม จอห์น รอลว์สไม่เห็นด้วย เพราะว่าการใช้แนวคิดดังกล่าวทำให้คนส่วนน้อยถูกลิดรอนสิทธิ ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดอรรถประโยชน์นิยมยังมีผลให้เสรีภาพของปัจเจกบุคคลมีความสำคัญเป็นอันดับสอง เมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
ในทฤษฎีความยุติธรรม จอห์น รอลว์ส พยายามแสดงการประนีประนอมอย่างมีหลักการระหว่างเสรีภาพ (liberty) กับความเสมอภาค (equality) โดยนำเสนอให้เห็นชุดของแนวคิดที่มองความยุติธรรมเสมือนการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม (justice as fairness)รอลว์สใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นชุดแนวคิดหลักในการถ่ายทอดเนื้อหาของความยุติธรรมในฐานะที่เป็นการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม เขาพยายามที่จะแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือ “การกระจายความยุติธรรม” (Distributive Justice)
รอลว์สตั้งคำถามถึงหลักการสัญญาประชาคม (Social Contract) เราควรจะยอมรับหลักการความยุติธรรมใดบ้าง เมื่อเราตกลงใจที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่น แต่เรายังคงอยากที่จะรักษาผลประโยชน์ของเรามากๆ และลดภาระต่างๆ ลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยที่ยังต้องประสานงานกับผู้อื่น ความยุติธรรมในฐานะความเป็นธรรม หรือ Justice as fairness เป็นทางออกของผู้คนธรรมดา ที่ไม่ได้เป็นทั้ง “นักบุญที่แสนจะเสียสละ” และไม่ได้เป็น “คนละโมภที่สุดจะเห็นแก่ตัว” เขาเห็นว่า มนุษย์เราโดยทั่วไปเป็นผู้มีเหตุผล รู้ความเหมาะความสมควรและเข้าใจในเหตุผลได้ (rational and reasonable) เราทุกคนมีจุดมุ่งหมายปลายทาง เราทุกคนอยากที่จะบรรลุความสำเร็จ เราจะมีความสุขมากที่เราบรรลุความสำเร็จพร้อมๆ กับคนอื่นๆ ถ้ามันเป็นไปได้ เรายังอยากให้การบรรลุความสำเร็จของเราเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการและความปรารถนาของเราแต่ละคนมักมีความแตกต่างกัน ปัญหาก็คือ เราจะหาหลักการอะไร? ที่จะเป็นที่ยอมรับของเราแต่ละคนได้
หลักการข้อแรก รอลว์สเสนอแบบจำลอง (model) ของสถานการณ์ที่มีความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน (fair situation) เพื่อช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ เขาเสนอว่า เราควรยืนยันถึงหลักการพื้นฐานในเสรีภาพที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน (A principle of equal basic liberties) เพื่อปกป้องคุ้มครองเสรีภาพในด้านต่างๆ ที่เราคุ้นเคยเป็นอันดี อาทิ เสรีภาพในด้านวิชาการเสรีภาพในด้านการสมาคม และเสรีภาพในการแสดงออก และอื่นๆ ทุกคนในสังคมต้องได้รับสิทธิเสรีภาพพื้นฐานอย่างเข้มข้นและอย่างเท่าเทียมกับคนอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องการที่จะมีหลักประกันว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งใดในสังคม เสรีภาพจะเสมือนเป็นตัวแทนทางเลือกที่มีความหมายต่อเรา ตัวอย่างเช่น การมีหลักประกันที่เป็นทางการในด้านเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพในการรวมตัว ถือว่ามีคุณค่าน้อยมากต่อคนยากจนและคนที่อยู่ชายขอบสังคม จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการเรียกร้องให้คนทุกคนในสังคมมีโอกาสที่มีผลเป็นจริงในชีวิต อย่างน้อยที่สุด เราต้องการให้เสรีภาพของเราทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน ไม่ว่า บุคคลนั้นจะอยู่ส่วนใดในสังคม บุคคลนั้นย่อมต้องการให้ชีวิตของเขามีคุณค่า ที่มีเสรีภาพอันมีผลจริงที่จะทำให้ชีวิตของเขาหรือเธอได้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
หลักการข้อที่สอง ได้แก่ หลักการเรื่องความแตกต่าง หลักการข้อนี้เป็นหลักประกันว่า เมื่อบุคคลที่มีสภาพและแรงจูงใจคล้ายๆ กันก็พึงได้รับโอกาสในชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น คนที่ด้อยโอกาสที่สุดในสังคมก็ควรจะได้รับโอกาสอย่างทัดเทียม ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมจะถือว่าเป็นความยุติธรรมก็ต่อเมื่อ ความไม่เท่าเทียมนั้นได้ช่วยส่งเสริมให้คนที่ด้อยโอกาสที่สุด-คนที่ยากจนที่สุดได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
แนวคิดของจอห์น รอลว์สคือการมองว่า สังคมที่มีความยุติธรรมนั้น กฎหมายและสถาบันต่างๆ ไม่ควรให้ประโยชน์กับคนกลุ่มหนึ่งบนต้นทุนของคนกลุ่มอื่นๆ บนฐานธรรมชาติและฐานสังคมที่มีความแตกต่างกัน ในการพัฒนาแนวคิดที่ว่าความยุติธรรมในฐานะความเป็นธรรม “Justice as fairness” รอลว์สบอกให้เราลองใช้จินตนาการตัวเรา ที่ตัดสินใจเลือกหลักความยุติธรรมจากจุดกำเนิดของความเป็นธรรม อย่างที่เราไม่ต้องคำนึงถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจของเรา ไม่คำนึงถึงชาติพันธุ์ของเรา เพศ หรือความสามารถที่ติดตัวเรามา ตลอดจนข้อเท็จจริงทางสังคมอื่นๆ รอลว์สเสนอว่า ประการแรก เราต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ กับเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และโอกาสที่เป็นธรรมสำหรับทุกคนในสังคม และประการที่สอง ต้องพยายามแบ่งสรรปันส่วนรายได้และความมั่งคั่งไปยังกลุ่มคนที่ยากจนให้ได้อย่างทั่วถึงที่สุด
จึงอาจสรุปหลักการสองประการนี้ว่าเป็นหลักการที่แสดงถึงการสร้างแนวคิดทั่วไปของความยุติธรรมได้ว่าสิ่งพื้นฐานทางสังคมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ โอกาส รายได้ ความมั่งคั่งและหลักการนับถือตนเองจะต้องถูกกระจายไปอย่างเท่าเทียมกันเว้นแต่การกระจายแบบไม่เท่าเทียมกันเกี่ยวกับสิ่งพื้นฐานทางสังคมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้เปรียบน้อยที่สุด
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความยุติธรรม กล่าวคือ การเข้าไปฝึกภาคปฏิบัติงานในสำนักงานศาลแรงงานภาค 2 ในครั้งนี้ คือ ทุกคนในสังคมต้องได้รับสิทธิเสรีภาพพื้นฐานอย่างเข้มข้นและอย่างเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ไม่แบ่งแยก เพศ อายุ ชาติ ศาสนา และฐานะ มีสิทธิที่เท่าเทียมกันทุกอย่าง เมื่อมาศาล ศาลตัดสินตามความจริง ผิดถูก ไม่โอนเอียง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่รับสินบน ตัดสินด้วยความยุติธรรม
ทฤษฎีทัศนคติ
โรเจอร์ (Roger , 1978 : 208 – 209 อ้างถึงใน สุรพงษ์ โสธนะเสถียร , 2533 : 122) ได้กล่าวถึง ทัศนคติ ว่า เป็นดัชนีชี้ว่า บุคคลนั้น คิดและรู้สึกอย่างไร กับคนรอบข้าง วัตถุหรือสิ่งแวดล้อมตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ โดย ทัศนคติ นั้นมีรากฐานมาจาก ความเชื่อที่อาจส่งผลถึง พฤติกรรม ในอนาคตได้ ทัศนคติ จึงเป็นเพียง ความพร้อม ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และเป็น มิติของ การประเมิน เพื่อแสดงว่า ชอบหรือไม่ชอบ ต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ซึ่งถือเป็น การสื่อสารภายในบุคคล (Interpersonal Communication) ที่เป็นผลกระทบมาจาก การรับสาร อันจะมีผลต่อ พฤติกรรม ต่อไป
นิวคอมบ์ (Newcomb , 1854 : 128) ให้คำจำกัดความไว้ว่า ทัศนคติ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะคนนั้น ขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม อาจ แสดงออก ในพฤติกรรม ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะชอบหรือพึงพอใจ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิด ความรักใคร่ อยากใกล้ชิดสิ่งนั้น ๆ หรืออีก ลักษณะหนึ่ง แสดงออก ในรูปความไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่อยากใกล้สิ่งนั้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทัศนคติ กล่าวคือ การเข้าไปฝึกภาคปฏิบัติงานในสำนักงานศาลแรงงานภาค 2 ในครั้งนี้ ได้นำทฤษฎีทัศนคติ ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน คือ เมื่อสภาพแวดล้อมดี บุคคลรอบข้างดี จึงทำให้มีทัศนคติที่ดี ก็ย่อมส่งผลต่อการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีระเบียบวินัย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm#ixzz3hxLBBTVC
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติงาน
1.ได้รู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการว่าดำเนินการและปฎิบัติงาน
2.รู้ถึงโปรแกรมอิเล็กทอนิคมากมายว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เช่นโปรแกรมการทำสำเนาเอกสาร การคีย์ข้อมูล การส่งแฟลต ถ่ายเอกสารฯ การใช้เอ็กเซลล์ และจดหมายเวียน
3.รู้ถึงโครงสร้างหน้าที่ขององค์กร การแบ่งงานกันทำตามความถนัด แบ่งฝ่ายการจัดการดูแลรับผิดชอบ ส่วนต่างๆที่ชัดเจน
4.การวางตัวให้เหมาะสม การตรงต่อเวลา มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ปรับตัวให้ เข้ากับผู้อื่นได้ดี
5.ฝึกความกล้าพูดกล้าแสดงออกในที่สาธารณชน ที่คนอยู่เป็นจำนวนมากโดยไม่เขินอาย
6.ได้เรียนรู้การฝึกงานเพื่อจะมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง
7.รู้ถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อ พบปัญหาที่แท้จริง
8.มิตรภาพที่ดีจากการฝึกงาน และคณะทำงาน9.ได้ทราบการดำเนินการหมายเรียก โจทก์และจำเลย ที่มีความแตกต่างกัน
10.ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนิติศาสตร์ ในมุมมองที่ไม่เคยได้ทราบ
ขอขอบคุณ
สำนักงานประจำศาลแรงงานภาค 2
อาคารศาลแขวงชลบุรี ชั้น 2 ถนนพระยาสัจจา
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.
โทร. 0-3828-7941 สาขาระยอง 0-3861-8969 | โทรสาร.
0-3828-7942
อีเมล์.
lbchnc@coj.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น